|
|
|
|
|
วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี
ตั้งอยู่ที่ ถ.วิไลจิตต์ ต. บางพุทรา อ. เมือง จ.สิงห์บุรี 16000
โทร.(036) 511232,
|
|
|
|
|
|
- เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 กรมอาชีวศึกษา
ร่วมกับจังหวัดสิงห์บุรี ได้เปิดการสอนวิชาช่างไม้ระดับ
ประถมอาชีพ ที่โรงเรียนฝึกหัดครู (ครู ป.) ต.บางประทุน อำเภอพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ในปีต่อมาทางจังหวัดได้
พิจารณา เห็นว่าโรงเรียนอยู่ค่อนข้างไกล และการติดต่อ
ประสาน งาน ไม่สะดวก จึงได้ให้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ทาง
ฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำ เจ้าพระยา ห่างจากตัวจังหวัดมา
ทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งบริเวณที่ตั้งโรงเรียนเดิม
นั้น เป็นวัดร้างชื่อว่าวัดใต้ มีเนื้อที่ 16 ไร่เศษ อยู่ในเขตหมู่ 6 ต.บางพุทรา
อ.เมือง จ.สิงห์บุรีและได้เปลี่ยน ชื่อใหม่
เป็น โรงเรียนช่างไม้สิงห์บุรี และในปี พ.ศ.2501ได้
เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น โรงเรียนการช่างสิงห์บุรี เพื่อเป็นการ
ยกระดับ และวางแผนด้านอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับ
แผนการศึกษาแห่งชาติ จึงเปลี่ยน ชื่อจาก โรงเรียน
การช่างสิงห์บุรีเป็น โรงเรียนเทคนิคสิงห์บุรี ตั้งแต่วันที่
1 มกราคม พ.ศ.2522 และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2524 ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี
|
|
- พ.ศ.2481
เปิดสอนวิชาช่างไม้ระดับประถมอาชีพโ ดยมุ่งฝึกเฉพาะ
ช่าง ฝีมือ แต่เพียงด้านเดียวรับนักเรียนที่จบชั้นประถมอาชีพ โดย
มุ่งฝึกเฉพาะช่างฝีมือแต่เพียงด้านเดียว รับนักเรียนที่จบชั้นประถม
ปีที่ 4 เข้าเรียนต่ออีก 3 ปีสำเร็จหลักสูตรแล้วสามารถประกอบ
อาชีพได้
- พ.ศ.2490ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากประโยคประถมอาชีพ
เป็นมัธยมอาชีซตอนต้นเปิดรับนักเรียนที่จบจากประ ถมปีที่
4 เข้า
เรียนต่ออีก 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วเทียบเท่ามัธยมปีที่ 3 สายสามัญซึ่ง
มีโอกาสศึกษาต่อในชั้นสูงต่อไป
- พ.ศ.2496
ขยายระดับการศึกษาเพิ่มขึ้น โดยเป็นหลักสูตรมัธยม
ศึกษาตอนกลางรับนักเรียน ที่สำเร็จจากมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น
และจากประโยคมัธยมศึกษาปีที่ 3 สายสามัญ
- พ.ศ.2498
เปิดหลักสูตร ช่างปูน และช่างตัดผม
- พ.ศ.2501
ขยายระดับการศึกษาเป็นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนที่สำเร็จจากมัธยมอาชีวศึกษาตอนกลาง
หรือ ม.6
- พ.ศ.2507
ยุบชั้นประถมอาชีพ และมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น
- พ.ศ.2508
ยุบชั้นมัธยมศึกษาตอนกลาง คงเหลือแต่มัธยมอาชีวศึกษา
ตอนปลาย ซึ่งเปลี่ยนเป็นอาชีวศึกษาชั้นสูง
- พ.ศ.2510
เปิดสอนแผนกวิชาช่างเครื่องยนต์และดีเซล
- พ.ศ.2513
เปิดสอนแผนกวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
- พ.ศ.2518 เปิดสอนแผนกวิชาช่างไฟฟ้า
- พ.ศ.2520
เปิดสอนแผนกวิชาช่างกลโรงงาน
- พ.ศ.2526
เปิดสอนแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
- พ.ศ.2531 ได้รับรางวัลสถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่น
ปี 2531
- พ.ศ.2534
ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ปี
2534
- พ.ศ.2536
เปิดสอน ระดับ ปวส.แผนกวิชาช่างเทคนิคการผลิต
(งานแม่พิมพ์พลาสติก)
- พ.ศ.2537
เปิดสอน ระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
เปิดสอน ระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างเทคนิคโลหะ
เปิดสอน ระดับ ปวส.แผนกวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม
ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่น ปี 2537
- พ.ศ.2538
เปิดสอน ระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
เปิดสอน ระดับ ปวส. แผนกวิชาเครื่องมือกล
- พ.ศ.2538
ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ปี 2538
- พ.ศ.2539
เปิดสอน ระดับ ปวช. แผนกวิชาช่างช่อมบำรุง
- พ.ศ.2540
เปิดรับนักเรียนที่จบหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 (ม.6) เข้าศึกษาต่อแผนกวิชาช่างยนต์ ระดับประ กาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) ในสาขาเทคนิคยานยนต์
- พ.ศ.2541
เปิดรับนักศึกษาระบบทวิภาคี (DVT) เข้าศึกษาต่อ
แผนกวิชาช่างยนต์
- พ.ศ.2543
เปิดรับนักศึกษาระบบทวิภาคี
(DVT) เข้าศึกษาต่อ
แผนกวิชาช่างกลโรงงานและช่างไฟฟ้ากำลัง
|
|
|
|
|
ระดับ ปวช . มี 5
สาขาวิชา คือ
|
- 1 สาขาวิชาช่างยนต์ มี 1 แผนกวิชา
1.1 แผนกวิชาช่างยนต์
- 2. สาขาวิชาช่างกลโลหะ มี 2 แผนกวิชา
2.1 แผนกวิชาช่างกลโรงงาน
2.2 แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ
- 3. สาขาวิชาช่างไฟฟ้า - อิเล็กทรอนิกส์
มี 2 แผนกวิชา
3.1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
3.2 แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
- 4. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง มี 1 แผนกวิชา
4.1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
- 5. สาขาช่างซ่อมบำรุง มี 1 แผนกวิชา
5.1 แผนกวิชาช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล
|
|
|
|
|
|
หลักสูตรทวิภาคีเปิดสอน
3 สาขาวิชา คือ
|
- สาขาวิชาช่างยนต์ , สาขาวิชาช่างกลโรงงาน, สาชาวิชาช่างไฟฟ้า
|
|
|
|
|
|
ระดับ ปวส. มี สาขาวิชา
คือ
|
สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |